ผู้ป่วยติดเตียง ผู้ป่วยติดเตียง ป้องกันแผลกดทับอย่างไรให้เหมาะสมมากที่สุด? 

การดูแลผู้ป่วยติดเตียงนั้น ถือเป็นเรื่องสำคัญที่ทุกคนไม่ควรมองข้ามเลยก็ว่าได้ รวมทั้งในเรื่องของการดูแลสุขอนามัยของผู้ป่วยด้วยเช่นกัน เพื่อเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยติดเตียง อย่างเช่น แผลกดทับ ที่จะเป็นภาวะเสี่ยงของผู้ป่วยติดเตียงมากที่สุด เนื่องจากผู้ป่วยจะไม่สามารถขยับตัวได้ด้วยตัวเอง ดังนั้นหากบ้านไหนที่มีผู้ป่วยติดเตียง มาดูกันเลยว่าจะมีวิธีการดูแลผู้ป่วยอย่างไร เพื่อป้องกันแผลกดทับได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด 

ผู้ป่วยติดเตียง ทำไมถึงต้องป้องกันแผลกดทับ 

แผลกดทับของผู้ป่วยติดเตียง ถือเป็นสิ่งที่ค่อนข้างร้ายแรงเลยก็ว่าได้ ถึงแม้ว่าจะไม่มีความอันตรายถึงชีวิต แต่หากผู้ป่วยติดเตียงเกิดแผลกดทับแล้ว จะรักษาได้ยาก อีกทั้งยังเสี่ยงติดเชื้อและลุกลามด้วยเช่นกัน ดังนั้นผู้ป่วยติดเตียงทุกคนจำเป็นต้องมีวิธีป้องกันแผลกดทับให้ดีที่สุด เพื่อลดความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

วิธีป้องกันแผลกดทับสำหรับผู้ป่วยติดเตียง มีอะไรบ้าง 

ทุกคนรู้หรือไม่ว่า วิธีป้องกันการเกิดแผลกดทับของผู้ป่วยติดเตียง จะมีหลากหลายวิธีป้องกันเลยก็ว่าได้ ดังนั้นเราไปดูกันเลยว่า จะมีวิธีป้องกันแผลกดทับอย่างไร ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด 

  • เปลี่ยนท่านอนผู้ป่วยอยู่เสมอ: การเปลี่ยนท่านอนผู้ป่วยอยู่เสมอ จะถือเป็นตัวช่วยป้องกันแผลกดทับได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากการเปลี่ยนท่านอนจะเป็นตัวช่วยกระตุ้นการไหลเวียนเลือดให้แก่ผู้ป่วย อีกทั้งยังช่วยลดอาการเจ็บปวด เพื่อความสะดวกให้แก่ผู้ป่วยได้เป็นอย่างดี ดังนั้นเราควรเปลี่ยนท่านอนให้แก้ผู้ป่วยติดเตียง 1-2 ชั่วโมงต่อครั้ง 
  • เลือกใช้หมอนและเบาะรองนั่ง: การใช้หมอนหรือเบาะรองนั่งรองด้านหลังผู้ป่วยเอาไว้ จะเป็นอีกหนึ่งวิธีช่วยป้องกันแผลกดทับได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด เพราะจะเป็นตัวช่วยลดแรงกดทับในบริวเณที่มีน้ำหนักเยอะ ๆ ได้ อีกทั้งเบาะรองนั่งที่มีฟองอากาศ หรือเม็ดพลาสติกจะเป็นตัวช่วยกระจายน้ำหนักได้เป็นอย่างดี 
  • ตรวจสอบรอยแดงอยู่เสมอ: โดยปกติแล้วหากผู้ป่วยติดเตียงเกิดความเสี่ยงของแผลกดทับ ในบริเวณนั้น ๆ จะมีรอยแดงเป็นสัญญาณเตือนแผลกดทับนั่นเอง ดังนั้นเราจำเป็นต้องสังเกตรอยแดงบนตัวผู้ป่วยอยู่เสมอ เพื่อลดการเกิดแผลกดทับได้ดีที่สุด 

การป้องกันแผลกดทับของผู้ป่วยติดเตียง จะถือเป็นวิธีการดูแลผู้ป่วยติดเตียงที่ดีที่สุด เพราะเรื่องแผลกดทับจะถือเป็นปัญหาอันดับแรง ๆ ของผู้ป่วยติดเตียงเลยก็ว่าได้ อาจจะก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ หรือเกิดการติดเชื้อได้ง่าย ดังนั้นผู้ดูแลจำเป็นต้องดูแลในเรื่องนี้อยู่เสมอ เพื่อดูแลผู้ป่วยติดเตียงได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด